shopup.com

ดูบทความเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยในยุค Covid 19

เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยในยุค Covid 19

เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยในยุค Covid 19

ผู้ป่วยโควิด-19 ต้องเตรียมอุปกรณ์รักษาตัวที่บ้านอะไรบ้าง สำหรับ Home Isolation

          ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่อย่างโอไมครอน ที่ยังคงทวีความรุนแรง และมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน โดยที่ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่รวมไปถึงผู้ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจเชื้อโควิดอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในตอนนี้การติดเชื้อโควิด-19 ได้กลายมาเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที

        ถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจะไม่ก่อให้การเจ็บป่วยแบบรุนแรงที่นำไปสู่การเสียชีวิตเหมือนอย่างสายพันธุ์อื่น ๆ แต่การติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงสูง อย่างเช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยติดเตียง ก็ยังถือเป็นเรื่องที่ควรจับตามอง และควรให้การเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ เพราะการติดเชื้ออาจส่งผลให้บุคคลในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงสูงเหล่านี้ มีโอกาสที่จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว และอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่าคนทั่วไปได้

        เพราะฉะนั้นแล้ว การเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วย อย่างเช่น เครื่องผลิตออกซิเจน และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลผู้ป่วยจำเป็นจะต้องทำการวางแผนรับมือ และเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย และช่วยเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอัตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เตรียมความพร้อมอย่างไร ให้ผู้ป่วยปลอดภัยในยุคโควิด-19


1. การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

• ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยควรมีแค่คนเดียว และควรเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโค วิด-19 น้อยที่สุด
        การมีผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยเพียงแค่คนเดียว เป็นการช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้สัมผัสและติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยไม่ตั้งใจ โดยผู้ที่จะมาทำการดูแลผู้ป่วยนั้นควรเป็นผู้ที่ไม่มีความจำเป็น หรือมีความจำเป็นที่น้อยที่สุดในการออกไปทำธุระ หรือพบปะใกล้ชิดผู้คนนอกบ้าน เพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการที่ผู้ดูแลผู้ป่วยจะได้รับเชื้อ และนำเชื้อก่อโรคนี้มาแพร่กระจายสู่ผู้ป่วยได้

        นอกจากนี้ ในทุก ๆ ครั้งที่เดินทางกลับมาจากข้างนอก ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยควรจะต้องรีบไปทำการอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ในทันที พร้อมทั้งยังควรทำความสะอาดกระเป๋า รองเท้า โทรศัพท์มือถือ รวมถึงเครื่องประดับทุกชิ้นที่ได้มีการนำติดตัวออกไปนอกบ้าน ก่อนที่จะมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย รวมถึงสิ่งของของผู้ป่วย อย่างเช่น เครื่องผลิตออกซิเจน และเตียงผู้ป่วย เป็นต้น เพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ที่อาจเกาะอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของที่เรานำติดตัวออกไปจากบ้านได้

• ผู้ดูแลควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย
        อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคที่อาจทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการไข้ ไอ หรือจาม คล้ายการเป็นไข้หวัด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจนทำให้คนที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดีทั่ว ๆ ไปอาจไม่สามารถรู้ตัวว่าได้เลยว่า ตัวเองนั้นกำลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่หรือไม่ ซึ่งส่งผลให้หลาย ๆ คนอาจนำเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปแพร่กระจายสู่คนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่ได้ตั้งใจได้

        เพราะฉะนั้นแล้ว การสวมใส่หน้าอนามัยตลอดเวลาที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับผู้ป่วย เพราะหน้ากากอนามัยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวกลางสำคัญ ที่ทำหน้าที่ในการช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสที่สามารถเกิดการติดต่อจากคนสู่คนได้ด้วยการสูดหายใจเอาละอองฝอยผ่านระบบทางเดินหายใจ โดย การไอ การจาม น้ำลาย และน้ำมูก เข้าไปในร่างกาย และเกิดการแพร่กระจายออกสู่อากาศ รวมถึงกระจายสู่ตัวผู้ป่วยได้

• ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยควรหมั่นตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

        ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยควรหมั่นจะต้องตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกายของตัวเอง พร้อมทั้งควรทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยตัวเองผ่านชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือเว้นระยะห่างในการตรวจ ATK แต่ละครั้งให้ได้ประมาณ 3-5 วัน เพื่อเป็นการช่วยยืนยันว่าตัวเองนั้นปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และพร้อมสำหรับดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยอย่างแท้จริง

        ทั้งนี้ หากผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการเจ็บป่วย อย่างเช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก เป็นต้น ควรทำการแยกตัวจากผู้ป่วยในทันที พร้อมทั้งควรทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซ้ำ และทำการกักตัวอย่างน้อย 14 วัน เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของทุกคน

2. การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

• ผู้ดูแลควรเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน ให้กับผู้ป่วยในทุกมื้อ เพื่อการช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงพร้อมสู้ภัยโควิด-19

        การรับประทานอาหารดี ๆ ที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างร่างกายของผู้ป่วยให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมทั้งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้พร้อมสำหรับการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        โดยอาหารที่ควรจัดเตรียมให้ผู้ป่วยได้รับประทานบ่อย ๆ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่สามารถช่วยบำรุงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย และอาหารที่อุดมไปด้วยผักและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น มะเขือเทศ หอมแดง หัวหอมใหญ่ และมะนาว เป็นต้น

• ผู้ดูแลผู้ป่วยควรจัดตารางออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายอยู่ เสมอ

        การต้องใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง และกินวงกว้างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเครียด เบื่อหน่าย และเกิดความวิตกกังวลที่มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยจึงต้องหมั่นคอยดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยอยู่อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งยังควรมองหาโปรแกรมการออกกำลังกายที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน อย่างเช่น การเดิน และการแกว่งแขน รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบ อย่างเช่น การทำอาหาร การถักไหมพรม และการปลูกต้นไม้ มาให้ผู้ป่วยได้ลงมือทำเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อการช่วยผ่อนคลายความเครียดลง และเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงมากขึ้น

3. การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย

        หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ดูแลผู้ป่วยทุกคนจำเป็นจะต้องเรียนรู้และเตรียมการให้พร้อมก่อนการดูแลผู้ป่วยนั้น คือ การเลือกซื้อเลือกหาอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นมาจัดเตรียมเอาไว้ภายในบ้านให้พร้อมสำหรับการใช้งานเพื่อการช่วยให้ผู้ดูแลสามารถทำการดูแลผู้ป่วยได้อย่างสะดวกมากขึ้น และเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยในกรณีที่อาการป่วยของผู้ป่วยนั้นเกิดการทรุดลงอย่างกะทันหัน ไม่ว่าจะเป็นจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19หรือไม่ก็ตาม และช่วยประคับประคองให้อาการของผู้ป่วยมีความคงที่ในระหว่างที่ต้องมีการนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วย

        โดยหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์มาติดบ้านเอาไว้นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเลือกอุปกรณ์ที่มีความสอดคล้องกับอาการและโรคของผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต หรือมีการบาดเจ็บที่ขาจนทำให้ไม่สามารถลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกส่วนใหญ่นั้น อุปกรณ์การแพทย์ที่จะขาดไปไม่ได้เลย คือ เตียงคนไข้ หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เพราะเตียงผู้ป่วยนี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลสามารถช่วยให้ขยับลุกขึ้นนั่งหรือลุกจากเตียงได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

        หรือในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีอาการเหนื่อยหอบง่ายและหายใจไม่สะดวกเป็นประจำ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นจะต้องมีติดบ้านเอาไว้นั้น คือ เครื่องออกซิเจนที่ปลายนิ้ว และเครื่องผลิตออกซิเจน ที่สามารถช่วยในการผลิตออกซิเจนให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดออกซิเจน และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมารู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และหายใจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นอีกครั้ง

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาและต้องการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์อย่าง เตียงผู้ป่วย เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงผู้สูงอายุ เตียงคนไข้ รวมถึง เครื่องออกซิเจน เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร และ เครื่องผลิตออกซิเจน 8 - 10 ลิตร แอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย เราให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าทุกท่านในการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

05 พฤษภาคม 2565

ผู้ชม 471 ครั้ง

Engine by shopup.com