shopup.com

ดูบทความแผลกดทับเกิดจากอะไร? วิธีการดูแลรักษาแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง

แผลกดทับเกิดจากอะไร? วิธีการดูแลรักษาแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง

หมวดหมู่: ที่นอนลม

 

แผลกดทับ คืออะไร

แผลกดทับเป็นแผลที่เกิดจากการกดทับลงไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ เกิดเนื้อตายและแผลขึ้นมา อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น

 

ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ

ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยติดเตียง

ปัจจัยเสี่ยงแผลกดทับ

  • ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา
  • เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
  • ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร
  • โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
  • ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ

 

ลักษณะแผลกดทับ

แผลกดทับสามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย

  • ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด
  • ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
  • ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
  • ระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้

 

วิธีการรักษาแผลกดทับ

หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่

  • ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล

 

  • ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง

 

  • การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

 

ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ที่มีแผลกดทับหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับ แพทย์จะแนะนำผู้ดูแลให้ซื้อที่นอนที่มีคุณสมบัติช่วบลดแรงกดทับ เช่น ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หรือ ที่นอนชนิดโฟมกระจายน้ำหนักป้องกันแผลกดทับ

ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หลักการทำงานของที่นอนลม ใช้พลังงานปั๊มลมไฟฟ้าในการทำให้เตียงขยับอย่างต่อเนื่อง ลดโอกาสที่แผลกดทับจะสัมผัสกับผิวเตียงเป็นเวลานานๆ

แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามลักษณะรูปร่าง ได้แก่

 

1. ที่นอนลมชนิดรังผึ้ง ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับแบบรังผึ้ง Apex Domus1

ที่นอนลมชนิดรังผึ้ง

 

 

2. ที่นอนลมชนิดลอน ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับแบบลอน yuyue

ที่นอนลมชนิดลอน

 

การทำงานของที่นอนลมจะใช้เครื่องปั๊มลมสร้างแรงดันขึ้นมาสลับเป็นจังหวะ ผลจากการขยับของลอนบนเตียง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างที่นอนพร้อมมีการขยับของลอนบ่อยครั้ง เตียงสามารถลดรอยแผลกดทับ ลดการสัมผัสระหว่างผิวผู้ป่วยและเตียงลง ต่างจากเตียงทั่วไปที่ไม่สามารถทำแบบนี้ได้

ข้อแตกต่าง ของที่นอนลมสองขนิดนี้จากรีวิวิการใช้งานจริง พบว่า ที่นอนลมชนิดรังผึ้งจะนอนสบายกว่า เพราะลักษณะเป็นปุ่มพื้นผิวสัมผัสมีความนิ่มกว่าที่นอนลมชนิดลอน เพราะแบบลอนที่นอนจะมีความแข็งกว่ามาก ทำความสะอาดยากกว่าแบบรังผึ้งเพราะมีซอกเล็กๆ แต่ถอดซ่อมง่ายกว่าหากมีการ รั่ว แตก ที่นอนชนิดลอนจะสามารถซ่อมได้ง่ายดายโดยเปลี่ยนเฉพาะลอนได้เลย แต่ในทางตรงกันข้ามที่นอนชนิดรังผึ้งเวลารั่วจะรั่วทั้งผืนทำให้การซ่อมจะต้องปะบริเวณรอยรั่วไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะจุดเหมือนแบบลอนได้นั่นเอง ดังนั้นในการเลือกซื้อที่นอนลมก็อาจจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและความความสะดวกของแต่ละบุคคลค่ะ

 

ที่นอนชนิดโฟมกระจายน้ำหนักป้องกันแผลกดทับ มีการออกแบบพิเศษสำหรับผู้ป่วยติดเตียงมีคุณสมบัติที่สามารถกระจายแรงกดทับได้สูง ทำให้ลดการกดทับจากน้ำหนักตัวผู้ใช้งานได้ดี ลดโอกาสเกิดการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับที่นอนให้น้อยที่สุด ส่งผลให้ลดโอกาสที่จะเกิดแผลกดทับ นอกจากนี้ที่นอนโฟมมีความยืดหยุ่นสูงทำให้ผู้นอนรู้สึกสบายกว่าที่นอนชนิดอื่นๆ และสามารถปรับเข้ากับการจัดท่าของเตียงแบบต่าง ๆ ได้

ตัวอย่างที่นอนโฟมคุณภาพสูงรุ่นยอดนิยม ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ Funke Medical รุ่น Hyper Foam 2 ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการป้องกันแผลกดทับบนร่างกายมากว่า 30 ปี จากประเทศเยอรมันนี รองรับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กก.

 

ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ

 

ข้อมูลแผลกดทับอ้างอิงจาก : นพ. อรรถ นิติพน (โรงพยาบาลกรุงเทพ).  แผลกดทับ อย่าปล่อยไว้ให้รุนแรง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/pressure-ulcers (วันที่สืบค้าข้อมูล: 30 มีนาคม 2565).

 

17 พฤษภาคม 2565

ผู้ชม 22438 ครั้ง

Engine by shopup.com