shopup.com

ดูบทความเลือกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ

เลือกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ

เลือกเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ

เทคนิคการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ให้ตอบโจทย์การใช้งาน

เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า


        ผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือผู้สูงอายุที่สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมลงไปตามวัยจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนอย่างเช่นปกติ เป็นกลุ่มคนที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลและฟื้นฟูแบบใกล้ชิดในทุก ๆ ด้านเพื่อช่วยให้พวกเขาเหล่านี้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดอีกครั้ง เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ คือ การมี “เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า” ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันของผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุทุกคน รวมถึงญาติและผู้ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

        ซึ่งแน่นอนว่าท่ามกลางครุภัณฑ์ทางการแพทย์อย่างเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีวางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาดนั้น ญาติหรือผู้ดูแลหลาย ๆ คนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุมากนักอาจเกิดคำถามขึ้นในใจได้ว่า แล้วแบบนี้เราควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างไรดี เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเพื่อความสะดวกสบายที่มากที่สุดของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงทุกคน ? ไม่ต้องกังวลไป เพราะในวันนี้เราได้รวบรวมมาให้แล้วกับ 5 ข้อควรพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ที่จะช่วยให้การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ง่ายและตรงใจมากยิ่งขึ้น

5 ข้อควรพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

  1. ขนาดของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
            การเลือกขนาดของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องเลือกให้มีความพอดีและเหมาะสมกับขนาดตัวของผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ โดยขนาดของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจะต้องไม่เล็กกว่าขนาดตัวของผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงกับผู้สูงอายุสามารถนอนหลับพักผ่อนอยู่บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้อย่างสบายตัว และเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผู้ป่วยและผู้สูงอายุยื่นออกมาจากเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจนอาจทำให้เกิดการพลัดตกเตียงได้ แต่ในขณะเดียวกันเพียงผู้ป่วยไฟฟ้าก็ไม่ควรที่จะมีขนาดที่ใหญ่จนเกินไปเพราะอาจทำให้ผู้ดูแลหรือญาติสามารถเข้าถึงตัวของผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่นอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าและทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วย อย่างเช่น การอาบน้ำ การสระผม การพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ หรือการทำกายภาพบำบัดได้ยากมากยิ่งขึ้น

            แต่อย่างไรก็ตาม เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดในตอนนี้นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีขนาดมาตรฐานที่ 3 ฟุต โดยขนาดความกว้างของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจะอยู่ที่ 90-130 เซนติเมตร และขนาดความยาวของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าตั้งแต่ 200 เซนติเมตร เป็นต้นไป เพราะฉะนั้นแล้วในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินกว่ามาตรฐาน ญาติและผู้ดูแลอาจจะต้องทำการสั่งทำเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าสามารถรองรับการใช้งานร่วมกับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ และสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  2. ระบบการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
            ระบบการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ถือได้ว่ามีความสัมพันธ์กับลักษณะการดูแลและการช่วยฟื้นฟูทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุทุกคนโดยตรง เพราะฉะนั้นแล้วการเลือกระบบการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้อย่างราบรื่น และที่สำคัญยังเป็นการช่วยให้ญาติและผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น

    สำหรับระบบการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลัก ๆ ดังนี้
    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 2 ไกร์ เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ยังสามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ จึงทำให้ฟังก์ชันการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 2 ไกร์นั้นจะเน้นไปที่ฟังก์ชันการปรับระดับช่วงหลังที่ 0-75 องศา และช่วงขาที่ 0-40 องศา เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุสามารถขยับตัวลุกขึ้นนั่งหรือลุกขึ้นจากเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 3 ไกร์ เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้งานได้กับทั้งผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย เนื่องจากเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 3 ไกร์ มาพร้อมฟังก์ชันการปรับระดับถึง 3 ส่วน ได้แก่ การปรับระดับช่วงหลังที่ 0-75 องศา การปรับระดับช่วงขาที่ 0-40 องศา และการปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าขึ้น-ลงได้ที่ระดับความสูง 40–72 เซนติเมตร ซึ่งจะช่วยให้ญาติและผู้ดูแลสามารถเข้าถึงตัวผู้ป่วยและช่วยผู้ป่วยในการทำกิจวัตรต่าง ๆ อย่างเช่น การรับประทานอาหาร การเช็ดตัว หรือการทำกายภาพบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 5 ไกร์ เป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ถือได้ว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้งานร่วมกับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด เพราะเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าประเภทนี้มีฟังก์ชันการทำงานที่สามารถปรับได้ถึง 5 ระดับ ไม่ว่าจะเป็น การปรับระดับช่วงหลัง การปรับระดับช่วงขา การปรับความลาดเอียงของช่วงศีรษะ การปรับความลาดเอียงของช่วงปลายเท้า รวมไปถึงการปรับเป็นท่านั่ง การปรับตะแคงซ้าย การปรับตะแคงขวา และการปรับระดับความสูง-ต่ำของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลในการลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และเพื่อเป็นการช่วยทุ่นแรงของผู้ดูแลในการขยับพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
     
  3. ระบบควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
           
    หากพูดถึงระบบควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วเราจะสามารถแบ่งระบบควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนของระบบมอเตอร์ไฟฟ้า และส่วนของรีโมทควบคุม โดยสำหรับระบบมอเตอร์ไฟฟ้าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งระบบสำคัญที่ญาติและผู้ดูแลที่ต้องการจะเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาใช้งานไม่ควรที่จะมองข้ามไป เพราะระบบมอเตอร์ไฟฟ้าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเป็นระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าและความปลอดภัยในการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าโดยตรง เพราะฉะนั้นแล้วระบบมอเตอร์ไฟฟ้าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจึงจำเป็นที่จะต้องถูกผลิตขึ้นมาจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อความปลอดภัยที่มากที่สุดของทั้งผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลทุกคน

            และที่สำคัญคือระบบมอเตอร์ไฟฟ้าของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ายังควรมาพร้อมด้วยระบบสำรองไฟฟ้า เพื่อให้ญาติและผู้ดูแลสามารถใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้อย่างสะดวกและราบรื่นแม้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ และสำหรับในส่วนของรีโมทควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้านั้นก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุทุกคนไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่มีลูกหลานอยู่ในวัยกำลังซน เพราะฉะนั้นแล้วหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยในรีโมทควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า คือ ฟังก์ชันการล็อกการทำงานของรีโมทควบคุม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ เอารีโมทควบคุมการทำงานของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าไปกดเล่นจนอาจทำให้ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจได้

  4. ความปลอดภัยในการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
           
    ในทุกการใช้งานอุปกรณ์การแพทย์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์อย่างเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ความปลอดภัยของผู้ใช้งานทั้งผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นแล้วฟังก์ชันสำคัญอย่าง ราวกันตก ราวกั้นเตียง หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกันในชื่อ ราวปีกนก จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในฟังก์ชันสำคัญที่ญาติและผู้ดูแลจะมองข้ามไปไม่ได้เลยในขณะที่กำลังพิจารณาเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาใช้งาน เพราะถึงแม้ว่าผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุจะไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อพยุงตัวลุกขึ้นนั่ง การหมุนตัว การพลิกตัว หรือการล้มตัวนอนได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุก็ยังมีความเสี่ยงที่จะพลัดตกเตียงได้ในขณะที่ญาติหรือผู้แลทำการพยุงผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุลุกขึ้นนั่งเพื่อทำการเปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนผ้าปูที่นอน หรือในขณะที่กำลังช่วยผู้ป่วยติดเตียงพลิกตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
            เพราะฉะนั้นการเลือกใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีฟังก์ชันราวกันตกทั้งที่บริเวณหัวเตียงและปลายเตียง จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า และช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่ใช้งานเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าได้รับบาดเจ็บจนอาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยหรือการกระทบกระเทือนทางสมองและร่างกายที่รุนแรงในขณะที่พลัดตกจากเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  5. คุณภาพของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
            เราทุกคนมักจะใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ของวันไปกับการนอนหลับพักผ่อนอยู่บนเตียงนอน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกตินั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาที่มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันไปกับการนอนหลับและการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เพราะฉะนั้นแล้วปัจจัยในเรื่องของคุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตขึ้นรูปเป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจึงถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ที่ญาติและผู้ดูแลควรเลือกพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีความแข็งแรง คงทน มีความปลอดภัยในการใช้งาน และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน

            โดยการได้มาซึ่งเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่มีคุณภาพนั้น ญาติและผู้ดูแลควรเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ทำมาจากวัสดุอย่าง สเตนเลส หรือเหล็ก ที่ผ่านการเคลือบสารป้องกันสนิม เพื่อความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน และเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ในขณะที่ส่วนของหัวเตียงหรือฟูกนอนนั้นควรทำมาจากวัสดุที่สามารถกันน้ำและทำความสะอาดได้ง่าย และนอกจากนี้การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าจากบริษัทผู้ผลิตที่มีใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการรับรองโดยบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ญาติและผู้ดูแลทุกคนสามารถมั่นใจได้ว่า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่ได้ทำการเลือกซื้อมานั้นเป็นเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยอย่างแท้จริง

 

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาและต้องการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์อย่างเตียงผู้สูงอายุ เตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา หรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้ามาใช้งาน แอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย เราคือผู้ให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเตียงผู้ป่วยแบบธรรมดา และเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า หลากหลายรุ่น ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าทุกท่านในการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์และเตียงผู้ป่วยให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันมากที่สุด

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

18 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 768 ครั้ง

Engine by shopup.com