shopup.com

ดูบทความทำไมผู้ป่วยโควิด 19 ถึงต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน?

ทำไมผู้ป่วยโควิด 19 ถึงต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน?

ทำไมผู้ป่วยโควิด 19 ถึงต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน?

ทำไมผู้ป่วยโควิด 19 ถึงต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน


        โรคโควิด 19 คือโรคที่เป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ซึ่งมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 และขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก ซึ้งโรคนี้เกิดจากดชื้อไวรัสโคโรนาติดต่อทางระบบทางเดินหายใจโดยตรง นับว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะว่าหลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี อาการของโรคโควิด 19 มีหลายแบบซึ่งจะขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของบุคคลนั้นๆ อาจเริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการเล็กน้อย หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ จนถึงแก่ชีวิตได้ และเมื่อหายแล้วจะยังทิ้งรอยโรค และอาการเอาไว้กลายเป็น ภาวะ “ลองโควิด (LONG COVID)”

 

ภาวะ “ลองโควิด” เป็นอย่างไร?
       
โดยนพ.นิพนธ์ จิริยะสิน แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนครธนได้กล่าวไว้ว่า “ลองโควิด” (LONG COVID) เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโควิด-19 หลังจากรักษาตัวแล้วหายดีไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่ แต่มีอาการที่เกิดต่อเนื่องหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ภูมิคุ้มกันและการอักเสบก็อาจจะยังไม่ฟื้นฟู โดยอัตราการเกิดลองโควิด จะอยู่ที่ประมาณ 40-80% (จากรายงานทั่วโลก) ซึ่งอาการที่พบมีหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

 

เนื่องจากการเชื้อโควิด-19 นั้นมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง โดยเฉพาะปอด หากรับเชื้อในปริมาณที่มากทำให้ปอดเกิดการอักเสบและทำให้เกิดการอุดกั้นที่ถุงลมในปอด ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ซึ่งนั่นจะทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนลดลงส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปยังกระแสเลือด ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เมื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมปอดมีปัญหาการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ค่อยดีนัก จะมำให้รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด เหนื่อยง่าย เหนื่อยล้า ไม่สดชื่น ไอเรื้อรัง ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม

ลองโควิด 19 

เช็คสัญญาณเตือนอาการลองโควิดด้านทางเดินหายใจ

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจนหายแล้ว หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ควรเข้าพบแพทย์

  • ไข้กลับมาใหม่ทั้งที่เคยหายไปแล้ว
  • หายใจไม่ทัน หายใจไม่สะดวก หายใจเจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายมากขึ้น ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้นานๆ
  • มีอาการไอเรื้อรัง
  • เล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงนานๆ ไม่ได้ ที่เคยทำอยู่เดิมไม่ได้ ทำกิจกรรมเดิมไม่ได้

 

การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 และ Home Isolation ด้วยเครื่องผลิตออกซิเจน

ออกซิเจนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะการขาดออกซิเจนในเลือดอย่างรุนแรง เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำเกินไป โดยปกติแล้วค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปมีค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด (%SpO2) อยู่ที่ประมาณ 96-100% หากพบว่าเราวัดค่าได้ต่ำกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่า 94% ลงไปอาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมในการรักษาหรือเช็คความผิดปกติของร่างกาย โดยผู้ป่วยโควิดส่วนใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยแบ่งตามลักษณะอาการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ออกซิเจน ได้แก่

 

1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง โดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ใช้ออกซิเจนขนาด 3-5 ลิตร ช่วยเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนให้กับร่างกาย โดยใช้อุปกรณ์สายเสียบจมูก (Nasal Cannula)

Nasal Cannula สายให้ออกซิเจนผ่านจมูก

nasal cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 1-6 ลิตร/นาที สายเล็กๆ ที่นำออกซิเจนควรอยู่ลึกในจมูกประมาณ 1 ซ.ม. ข้อดีคือผู้ป่วยจะรู้สึกสบายกว่าอุปกรณ์แบบอื่นและมีราคาถูก

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2) หากให้ออกซิเจนผ่านอุปกรณ์ชนิดนี้

1 L/min = 24 %

2 L/min = 28 %

3 L/min = 32 %

4 L/min = 36 %

5 L/min = 40 %

6 L/min = 44 %

ข้อจำกัด ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับแปรผันตามการหายใจ ถ้าหายใจเร็ว หอบอยู่ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และถ้าเปิดออกซิเจนแรง จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก

 ***ควรปรึกษาแพทย์สำหรับการปรับอัตราการไหลและอุปกรณ์ที่ใช้งาน***

 

2. ผู้ป่วยอาการกลางๆ ค่อนไปทางรุนแรงแต่ยังสามารถหายใจด้วยตนเองได้ แพทย์แนะนำให้ใช้ออกซิเจนขนาด 5-10 ลิตร ช่วยเพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนให้กับร่างกาย โดยใช้อุปกรณ์หน้ากากให้ออกซิเจน ซึ่งอุปกรณ์ลักษณะนี้จะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยจะได้รับมากกว่าแบบสายเสียบจมูก ซึ่งหลักๆแล้วมี 2 ชนิดด้วยกัน

หน้ากากให้ออกซิเจน

2.1 Simple Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2) หากให้ออกซิเจนผ่านอุปกรณ์ชนิดนี้

5-8 L/min = 50-60%

ข้อจำกัด ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5 L/min เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ส่งผลให้ประสิทธิภาพการได้รับออกซิเจนลดลง บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย

 ***ควรปรึกษาแพทย์สำหรับการปรับอัตราการไหลและอุปกรณ์ที่ใช้งาน***

หน้ากากให้ออกซิเจนแบบมีถุงลม

2.2 High Concentration Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือหน้ากากออกซิเจนมีถุงลม

ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตว่าถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของคนไข้

ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับ (FiO2) หากให้ออกซิเจนผ่านอุปกรณ์ชนิดนี้

6-10 L/min = 55-70 %

ข้อจำกัด ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 6 L/min แนะนำเปิดโดยเครื่องผลิตออกซิเจน อัตราการไหลที่ 8-10 ลิตร / นาที

 ***ควรปรึกษาแพทย์สำหรับการปรับอัตราการไหลและอุปกรณ์ที่ใช้งาน***

 

3. ผู้ป่วยอาการรุนแรงอาการหนักไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้ แพทย์แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจะเป็นคนละชนิดกับเครื่องผลิตออกซิเจน และหลายท่านอาจจะมีความเข้าใจผิดกันอเรียกชื่อเครื่องผิดบ้าง ดันนั้นให้เข้าใจหลักการง่ายๆ คือเครื่องผลิตออกซิเจนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถหายใจด้วยตนเองได้ แต่ในทางตรงกันข้ามเครื่องช่วยหายใจจะมีไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือหายใจด้วยตนเองไม่ได้ ดังนั้นการจะเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจเพื่อนำไปใช้งานควรมีความเห็นจากแพทย์ด้วยทุกครั้ง

 

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาและต้องการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์อย่างเครื่องผลิตออกซิเจน 3 ลิตร 5 ลิตร 8 ลิตร 10 ลิตร แอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย เราให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องผลิตออกซิเจนหลากหลายรุ่น ที่พร้อมจะให้คำแนะนำและคำปรึกษาลูกค้าทุกท่านในการเลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์และเครื่องผลิตออกซิเจน 3 ลิตร 5 ลิตร 8 ลิตร 10 ลิตร ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันมากที่สุด

 
อ้างอิง: 

  • Rachael, L. P., et al., "Critical care and resuscitation: journal of the Australasian Academy of Critical Care Medicine" December (2013): 15(4):287-93.
  • Pradeep, G. "Flow Devices: Nasal Cannula, Aerosol, Venturi and the Rebreathing Mask" (2020).

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

09 สิงหาคม 2565

ผู้ชม 1702 ครั้ง

Engine by shopup.com