shopup.com

ดูบทความหลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจนเป็นอย่างไร

หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจนเป็นอย่างไร

หลักการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจนเป็นอย่างไร

อายุการใช้งานของเครื่องผลิตออกซิเจน

 

เครื่องผลิตออกซิเจน


          อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันนี้ “เครื่องผลิตออกซิเจน” เริ่มมีเป็นสิ่งที่หลายบ้านควรมีติดไว้ เพราะไม่ใช่แค่มีไว้สำหรับใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการหายใจและโรคปอดเรื้อรังเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปช่วยเรื่องการขาดออกซิเจนขณะนอนกรน, ภูมิแพ้, ไมเกรน หรือแก้อาการหอบเหนื่อยได้อีกด้วย ฉะนั้น ไม่ใช่แค่บ้านที่มีผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจหรือผู้สูงอายุเพียงเท่านั้นที่ควรมีเครื่องออกซิเจนติดไว้ แต่ใครที่มีปัญหาตามที่เราได้กล่าวมาก็สามารถซื้อติดไว้ที่บ้านเพื่อใช้งานได้ด้วยเช่นกัน


          ยิ่งในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ “เครื่องผลิตออกซิเจน” แบบพกพาที่มีขนาดเล็กลง สามารถเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงขนาดที่สามารถใช้งานที่บ้านได้อย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องพึงการเข้ารับการรักษาและการนอนเพื่อให้ผู้ป่วยได้ออกซิเจนที่โรงพยาบาลอย่างสมัยก่อน… เมื่อเราสามารถเข้าถึงการใช้งานเครื่องออกซิเจนมาใช้เองได้ง่ายขึ้น สิ่งสำคัญที่เราควรพึงใส่ใจเป็นพิเศษก็คือ การใช้งานที่ถูกต้อง โดยการทำความเข้าใจหลักการทำงานของ เครื่องผลิตออกซิเจน ก่อน จะได้ทราบวิธีการใช้งานรวมถึงการดูแลรักษาและอายุการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของคุณและครอบครัว นั่นเอง ฉะนั้น ในบทความนี้ Adlerthailand จะขอนำเสนอหลักการทำงานของหนึ่งในอุปกรณ์การแพทย์ชนิดนี้ที่ช่วยเรื่องการหายใจของผู้ป่วย รวมถึงรายละเอียดที่คุณควรรู้ไว้ดังต่อไปนี้

 

หลักการทำงานโดยทั่วไปของ “เครื่องผลิตออกซิเจน” หรือ เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน

          เทคโนโลยีการฟอกอากาศที่สามารถผลิตออกซิเจนบริสุทธิ์ ส่งผ่านตัวถังผ่านท่อโดยอาศัยแรงดันอัดอากาศปกติผ่านตัวกรองออกซิเจน (Molecular Sieve) เพื่อกักโมเลกุลของออกซิเจนไว้ ให้ไนโตรเจนไหลผ่านไปได้ ทำให้ได้ออกซิเจนที่เข้มข้นขึ้นถึงประมาณ 90% ออกมาได้และสามารถส่งต่อเข้าสู่ปอดของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้ ก็คือหลักการทำงานโดยรวมของสิ่งที่เรียกว่า เครื่องผลิตออกซิเจน หรือเครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Oxygen Concentrator

          โดยในปัจจุบันสามารถผลิตออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูงสุดได้ถึง 10 ลิตร/นาที โดยสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ออกซิเจนทั้งแบบสาย (Cannula), หน้ากากแบบมีถุงลม (Mask With Bag) และหน้ากากแบบครอบคอ (tracheostomy mask) ซึ่งความสามารถของการผลิตออกซิเจนก็จะขึ้นอยู่กับขนาดในแต่ละประเภทของ เครื่องผลิตออกซิเจน ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นประเภทแบบพกพา ความสามารถในการผลิตออกซิเจนก็จะไม่มากนัก ประมาณ 0.4-5 ลิตร/นาที เพราะขึ้นชื่อว่าพกพาแล้ว ก็จะเหมาะกับการใช้งานชั่วคราว และเหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจรุนแรง จนไม่สามารถหายใจได้เองได้ เป็นต้น

 

วิธีการใช้งาน “เครื่องผลิตออกซิเจน

  1. ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ให้มั่นใจว่าพื้นที่ที่จะใช้วางเครื่องออกซิเจนนั้นอยู่ในบริเวณพื้นที่โล่งและไม่มีสิ่งกีดขวาง ผนังหรือผ้าม่าน อยู่ในระยะใกล้กว่า 30 เซ็นติเมตร จากตัวเครื่อง

  2. ต่อสายออกซิเจนกับกระบอกทำความชื้น (Oxygen Outlet) หรือช่องออกของออกซิเจนหากไม่ต้องการใช้เครื่องทำความชื้น จากนั้นให้สายออกซิเจนอยู่เหนืออ้อมหูของผู้ป่วย และทำการสอดท่อ (แบบสาย Cannula) เข้าไปในจมูกของผู้ป่วย (ถ้าเป็นแบบหน้ากากแบบมีถุงลม (Mask With Bag) หรือหน้ากากแบบครอบคอ (tracheostomy mask) ก็ให้นำหน้ากากครอบที่ปากและจมูกของผู้ป่วย) เพื่อให้ออกซิเจนไหลเข้าสู่จมูกและตรงเข้าสู่ปอดของผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ หากเครื่องมีระบบทำความชื้นด้วย ให้ตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นในขวดว่าอยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมหรือไม่ร่วมด้วย

  3. การเลือกใช้สายต่อระหว่าง เครื่องผลิตออกซิเจน กับจมูกของผู้ป่วย ไม่ควรมีความยาวเกิน 2 เมตร เพื่อการส่งต่ออัตราการไหลของออกซิเจนที่ดีนั่นเอง โดยช่วงเวลารับออกซิเจนที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลสุขภาพหรือผ่อยคลายความเหนื่อยหอบให้ใช้อยู่ในระดับ 40-50 นาทีต่อครั้ง แต่สำหรับผู้ป่วยที่ทำการักษาโรคต่างๆ จะต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

  4. จากนั้นจึงค่อยเสียบปลั๊กไฟฟ้าแล้วเปิดสวิตช์เครื่อง เพื่อให้ เครื่องผลิตออกซิเจน เริ่มทำงาน ให้สังเกตว่าไฟสีเขียวที่เครื่องติดอยู่ แสดงว่าเครื่องกำลังทำงาน หากมีไฟสีแดง จะหมายถึงการทำงานของเครื่องล้มเหลว นอกจากนั้นให้สังเกตุไฟของแรงดันและอุณหภูมิ รวมถึงความบริสุทธิ์ของออกซิเจนร่วมด้วย เป็นต้น

  5. เมื่อใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจน เสร็จแล้วสามารถปิดเครื่องได้เลย ดึงปลั๊กออกทุกครั้ง พร้อมถอดกระป๋องน้ำให้ความชื้นออกจากเครื่องทุกครั้งหลังการใช้งานอีกด้วย

  6. การเติมน้ำในกระปุกทำความชื้น ควรเลือกน้ำที่มีความสะอาดและมีความบริสุทธิ์สูง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเข้าสู่ปอดของผู้ป่วยจนเกิดอันตรายนั่นเอง เช่น น้ำกลั่นสเตอร์ไรด์ โดยน้ำชนิดนี้เป็นที่นิยมนำมาใช้กับ เครื่องผลิตออกซิเจน มากที่สุด เพราะเป็นน้ำที่มีความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว และในโรงพยาบาลก็มักจะใช้น้ำชนิดนี้ล้างแผลและทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์อีกด้วย ถ้าหากยังหาน้ำกลั่นสเตอร์ไรด์ไม่ได้ สามารถใช้น้ำดื่มที่เปิดขวดใหม่ๆ ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วแทนได้เช่นกัน

  7. หมั่นดูแลทำความสะอาดทั้งภายนอกของเครื่อง โดยการใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดให้สะอาดแล้วเช็ดให้ทั่วภายนอกตัวเครื่อง และช่องระบายลมที่อยู่บริเวณด้านหลังหรือด้านข้างของ เครื่องผลิตออกซิเจน (แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ) เพราะจะช่วยให้การระบายอากาศของเครื่องทำงานได้ดีและสม่ำเสมอมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนในการทำงานของเครื่อง นอกจากนั้น ยังควรทำความสะอาดในส่วนของปลายท่อที่ต่อเข้ากับกระปุกทำความชื้น (Oxygen Outlet) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนของเครื่องให้ดีขึ้น อีกด้วย แต่ก่อนทำความสะอาดเครื่องทุกครั้งจะต้องมั่นใจว่าไม่ได้เสียบปลั๊กทิ้งไว้

  8. ควรเปลี่ยนไส้กรองของเครื่องผลิตออกซิเจนทุกๆ 6 - 12 เดือน และหลีกเลี่ยงการวางตัวเครื่องใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความร้อนสูง เช่น ตู้เย็น, ไมโครเวฟ, ตู้อบ หรือ แอร์คอนดิชั่นเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังควรเลี่ยงพื้นที่ที่มีควัน ฝุ่นหรือมลพิษ อีกด้วย

 

ข้อควรระวังและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงขณะใช้งาน “เครื่องผลิตออกซิเจน

  • หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ เช่น การสูบบุหรี่ หรือจุดธูปเทียน ในบริเวณที่เครื่องออกซิเจนทำงานอยู่ เนื่องจากบริเวณนั้นมีออกซิเจนสูงกว่าปกติอาจทำให้เกิดการติดไฟได้ง่าย

  • หลีกเลี่ยงการใช้งาน เครื่องผลิตออกซิเจน ในขณะที่ตัวผู้ป่วยหรือผู้ที่ดูแลตัวเปียก รวมถึงการวางเครื่องใกล้กับห้องน้ำเกิน 2.5 เมตร เพราะจะทำให้เกิดความชื้นขึ้นที่ตัวเครื่อง นั่นเอง

  • หลีกเลี่ยงการเปิด-ปิดเครื่องบ่อยๆ เพราะจะทำให้ตัวเครื่องเริ่มการทำงานใหม่ทุกครั้ง และการทำงานของเครื่องนั้นจะต้องใช้เวลาในการผลิตออกซิเจนในแต่ละครั้งประมาณ 3-5 นาที หากเปิดปิดบ่อยๆ นอกจากจะทำให้ระบบของเครื่องเสื่อมได้ง่ายแล้ว ยังทำให้เปลืองค่าไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย

 

เครื่องผลิตออกซิเจน” มีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่?

          โดยทั่วไปแล้วอายุการใช้งานของตัวเครื่องนั้นจะมีระยะอยู่ที่ประมาณ 10,000 - 30,000 ชั่วโมง แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ ขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของสารซีโอไลท์ (Zeolite) ที่เรียกว่า กระบอก Molecular Sieve ที่ทำหน้าที่ดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศ เพื่อผลิตออกซิเจนบริสุทธิ์ออกมา ซึ่งโดยปกติแล้วหาก เครื่องผลิตออกซิเจน หมดอายุการใช้งานก็จะมีสัญญาณไฟเตือนที่ตัวเครื่องทราบก่อน นั่นเอง

 

หากครบชั่วโมงการทำงานของตัว “เครื่องผลิตออกซิเจน” ต้องทำอย่างไร? ต้องซื้อเครื่องใหม่เปลี่ยนเลยหรือไม่?

          เมื่อมีสัญญาณแจ้งเตือนว่าตัวเครื่องทำงานครบชั่วโมงการทำงานที่แจ้งไว้แล้ว ซึ่งในแต่ละรุ่นก็จะมีอายุการใช้ที่แตกต่างกันไป เมื่อมีสัญญาณไฟแจ้งแล้วเครื่องออกซิเจนจะไม่ได้เสียหาย ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่แต่อย่างใด แค่ความสามารถในการผลิตออกซิเจนที่ได้นั้นจะมีความเข้มข้นน้อยลง จนถึงระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานของตัวเครื่อง ซึ่งเราไม่ควรใช้งานให้ไปถึงจนจุดนั้น

          ให้เราเปลี่ยนกระบอก Molecular Sieve ที่บรรจุสารซีโอไลท์ด้านหลังของตัวเครื่องใหม่ เท่านี้ เครื่องผลิตออกซิเจน ก็สามารถกลับมาใช้งานใหม่ได้ดังเดิม นอกจากชั่วโมงการทำงานที่มาตราฐานของตัวเครื่องกำหนดไว้แล้ว ยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้อายุการใช้งานของเครื่องลดลงด้วย อาทิ ฝุ่นหรือคราบสิ่งสกปรกที่เข้าไปเกาะในตัวเครื่อง จะทำให้ระบบการกรองอากาศและออกซิเจนบริสุทธิ์ทำงานได้น้อยลงหรือเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว

          ฉะนั้น จึงควรหมั่นทำความสะอาดส่วนต่างๆ ที่เรากล่าวไปแล้วในวิธีการใช้งานตาม (ข้อ 7 ) เพื่อให้ เครื่องผลิตออกซิเจน ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพตามอายุการใช้งาน และหากไม่ได้ใช้งานเครื่องเป็นเวลานานๆ ต้องนำเครื่อมาเปิดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยทำสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้เครื่องกระตุ้นกระบอกผลิตสารออกซิเจน Molecular Sieve ไม่ให้อุดตันหรือเสื่อมสภาพเร็ววกว่าอายุการใช้งานจริง นั่นเอง หากคุณกำลังมองหา เครื่องผลิตออกซิเจน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

25 สิงหาคม 2565

ผู้ชม 5250 ครั้ง

Engine by shopup.com