shopup.com

ดูบทความดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ถูกวิธี? พร้อมแนะนำเตียงผู้สูงอายุคุณภาพดี

ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ถูกวิธี? พร้อมแนะนำเตียงผู้สูงอายุคุณภาพดี

หมวดหมู่: เตียงผู้ป่วย

ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ถูกวิธี? พร้อมแนะนำเตียงผู้สูงอายุคุณภาพดี

ประโยชน์ของเตียงผู้สูงอายุสามารถช่วยให้การดูแลผู้ป่วยสะดวกสบายยิ่งขึ้นได้อย่างไร

 

ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง


ผู้ป่วยติดเตียงคือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารหรือการอาบน้ำ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุจึงจะต้องใช้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรรู้วิธีการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อสุขภาพกายและใจของตัวผู้ป่วยเอง วันนี้เราจึงได้รวมวิธีการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกต้อง พร้อมแนะนำเตียงผู้สูงอายุจาก Adler Medical Supply ตัวช่วยที่สามารถทำให้การดูแลผู้สูงอายุสะดวกมากยิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้างสามารถติดตามได้ในบทความนี้

การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี


สาเหตุหลักของการเป็นผู้ป่วยติดเตียงอาจมีได้หลายอย่าง เช่น การประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ ไปจนถึงโรคประจำตัว นอกจากนี้ผู้ป่วยติดเตียงยังสามารถพบได้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่กำลังเข้าสู่การเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าหากผู้สูงอายุขาดสารอาหารที่ประโยชน์หรือขาดการออกกำลังกายก็จะสามารถส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง จนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด เพราะผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีข้อควรระวังที่ควรรู้ ดังนี้

  1. ความสะอาด
    การดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอเป็นเรื่องที่ไม่สามารถละเลยได้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียงบางท่านมีความจำเป็นที่จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ผู้ดูแลจึงควรเปลี่ยนสายปัสสาวะอย่างน้อยทุก 2 – 4 สัปดาห์และทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนทุกครั้ง หมั่นสังเกตสีของปัสสาวะ ถ้าหากผู้ป่วยมีปัสสาวะสีขุ่นหรือปัสสาวะไม่ออก จะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ในกรณีที่ผู้ป่วยสวมแพมเพิร์ส ผู้ดูแลควรตรวจและเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ผู้ป่วยเสมอ เพราะการปล่อยให้ผู้ป่วยนอนจมกองอุจจาระหรือปัสสาวะจะทำให้รับเชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้ยังควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน (Oral Hygiene) เพราะสามารถช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของปอดและหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก

  2. สิ่งแวดล้อม
    สภาพแวดล้อมโดยรอบมีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย จึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมคือ ไม่รกทึบ เปิดหน้าต่างให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก หมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ และจัดสถานที่ให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน

  3. สุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้ป่วย
    ผู้ป่วยติดเตียงควรได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการยึดติดกันของข้อต่อ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ปอดขยายได้เต็มที่ และช่วยลดการเปิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ นอกจากปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการเสื่อมถอยของร่างกาย ผู้ดูแลก็ไม่ควรละเลยสภาพจิตใจของผู้ป่วยเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยติดเตียงมักมีภาวะเบื่อหน่ายและทุกข์ใจเกิดขึ้นเพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดจึงควรพูดคุยและหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วยเพื่อช่วยลดความเครียดลง นอกจากนี้ผู้ดูแลยังสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยได้

  4. แผลกดทับ
    อีกหนึ่งปัญหาที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยติดเตียงคือปัญหาแผลกดทับ สาเหตุเกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ทำให้บริเวณปุ่มกระดูกขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง เซลล์บางตัวตายไปจนทำให้เกิดแผลที่ผิว แผลกดทับสามารถเกิดได้หลายจุดบนร่างกาย เช่น สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ เป็นต้น โดยในระยะแรกอาจเป็นแค่อาการลอกที่ชั้นผิว แต่หากปล่อยไว้นานจะลอกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและอาจถึงชั้นกระดูกได้ แผลกดทับจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาจรุนแรงถึงชีวิต และเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถขยับหรือพลิกตัวเองได้ การป้องกันแผลกดทับคือผู้ดูแลจะต้องเปลี่ยนท่านอนและพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง พยายามไม่ให้เสื้อผ้าที่สวมใส่ยับย่นและไม่ควรปล่อยให้ผิวหนังเปียกชื้นหลังจากทำความสะอาด การใช้เตียงผู้สูงอายุหรือที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะจะช่วยลดแรงกดทับและสามารถช่วยลดการเกิดแผลกดทับได้

  5. การรับประทานอาหาร
    ผู้ป่วยมักจะอยู่ในภาวะกลืนลำบากซึ่งเป็นความผิดปกติทางช่องปากและคอหอยในผู้สูงอายุ ควรเลือกอาหารที่เหมาะสมอย่างโจ๊กปั่น เพื่อป้องกันการสำลักอาหารจนหลุดเข้าไปในหลอดลมและลดความเสี่ยงในการเกิดปอดติดเชื้อ นอกจากนี้ยังควรปรับเตียงผู้สูงอายุให้อยู่ในท่านั่ง ใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการสำลักอาหารทั้งระหว่างการรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง การเลือกใช้เตียงผู้สูงอายุหรือเตียงไฟฟ้าจะช่วยให้การปรับท่านั่งของผู้ป่วยสะดวกยิ่งขึ้น

 

เตียงไฟฟ้า 4 ฟังก์ชั่น (รุ่นปีกนก)

เตียงผู้สูงอายุที่สามารถปรับระดับได้ด้วยไฟฟ้า 4 ฟังก์ชั่น มีแบตเตอรี่สำรองในตัวจึงสามารถใช้งานได้แม้กระทั่งเวลาไฟดับ ด้วยโครงสร้างพื้นเตียงโลหะที่หนาเป็นพิเศษจึงสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 250 กิโลกรัม อีกทั้งยังมีรูระบายอากาศมากถึง 80 รู เพื่อช่วยในการระบายอากาศ ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกร้อนอบอ้าว สามารถปรับระดับความสูงต่ำของเตียงได้ มีที่แขวนถุงปัสสาวะ ช่องว่างสำหรับใส่เสาห้อยน้ำเกลือ และราวกั้นเพื่อป้องกันผู้ป่วยตกเตียง ที่สำคัญยังมีพนักพิงที่สามารถปรับได้ถึง 85 องศา ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการปรับท่านั่งให้กับผู้ป่วย


จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องมีความรู้ในการดูแลอย่างเหมาะสมอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องความสะอาด สิ่งแวดล้อม สุขภาพกายใจของผู้ป่วยแล้ว ยังเราต้องให้ความสำคัญในการป้องกันการเกิดแผลกดทับหรือการสำลักอาหารที่อาจส่งผลรุนแรงต่อตัวผู้ป่วยได้ การใช้เตียงผู้สูงอายุจะช่วยให้การปรับท่านั่งผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น และยังมีระบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ โดยถ้าหากคุณสนใจเตียงผู้สูงอายุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับดูแลผู้ป่วยอย่างเช่นเครื่องผลิตออกซิเจน เราขอแนะนำ Adler Medical Supply Adler Medical Supply เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน เตียงผู้สูงอายุ รถเข็นไฟฟ้า คุณสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน มีการประกันคุณภาพ และมีบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

08 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 594 ครั้ง

Engine by shopup.com