shopup.com

ดูบทความสัญญานเตือนที่บอกว่าคุณควรเปลี่ยนเครื่องผลิตออกซิเจนได้แล้ว

สัญญานเตือนที่บอกว่าคุณควรเปลี่ยนเครื่องผลิตออกซิเจนได้แล้ว

สัญญานเตือนที่บอกว่าคุณควรเปลี่ยนเครื่องผลิตออกซิเจนได้แล้ว

วิธีใช้งาน การดูแลรักษาเครื่องผลิตออกซิเจน


เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator) คือเครื่องมือช่วยเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไปจนถึงผู้ที่ต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ แต่สำหรับผู้ใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนภายในบ้าน อาจมีความสงสัยว่าต้องดูแลอย่างไร ใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม รวมถึงควรเปลี่ยนเครื่องผลิตออกซิเจนเมื่อไหร่ดี บทความนี้มีคำตอบมาฝากแล้ว

 

หลักการทำงานและประโยชน์ของเครื่องผลิตออกซิเจน

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าเครื่องผลิตออกซิเจนทำงานโดยใช้หลักการที่เรียกว่า PSA หรือ Pressure Swing Adsorption หมายถึงการดูดซับไนโตรเจนและก๊าซอื่น ๆ ออกจากอากาศโดยใช้ซีโอไลต์ (Zeolite) และดูดเข้ามาภายในตัวเครื่อง ทำให้อากาศมีปริมาณออกซิเจนเข้มข้นขึ้น โดยปริมาณออกซิเจนอาจเข้มข้นสูงสุดถึง 90-96% ด้วยความสามารถดังกล่าวทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญ เพราะสามารถผลิตออกซิเจนให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดหรือถุงลมโป่งพองได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ที่ต้องการออกซิเจนสามารถหายใจได้คล่องมากขึ้นด้วย

 

วิธีการดูแลเครื่องผลิตออกซิเจน ใช้งานอย่างไรให้ทนทาน ใช้ได้นาน ไม่เสื่อมสภาพก่อนเวลา

นอกจากการใช้งานทั่วไปแล้ว การดูแลเครื่องผลิตออกซิเจนทั้งก่อน ระหว่างใช้งาน และหลังใช้งานก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

  1. สิ่งแรกที่ต้องทำและให้ความสำคัญอยู่เสมอก็คือการทำความสะอาด โดยผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดช่องระบายลมด้านหลังหรือด้านข้างตัวเครื่องอยู่เสมอ เนื่องจากการทำความสะอาดช่องระบายลมจะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น รวมถึงช่วยลดความร้อนที่สะสมภายในตัวเครื่องได้อีกด้วย

  2. การทำความสะอาดปลายท่อที่ต่อเข้ากับกระปุกให้ความชื้น การทำความสะอาดบริเวณนี้เป็นประจำจะช่วยให้เครื่องผลิตออกซิเจนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถถ่ายเทออกซิเจนได้ดีขึ้น นอกจากนี้การใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนที่นิยมใช้ภายในครัวเรือนยังต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องด้วย โดยการใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดทำความสะอาด จากนั้นจึงเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อสุขอนามัยที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยหรือสมาชิกในบ้านที่ต้องใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้

  3. ในส่วนของไส้กรองอากาศของเครื่องผลิตออกซิเจนนั้นจะมีวิธีทำความสะอาดและการดูแลแตกต่างกันออกไปตามรุ่น ยี่ห้อ หรือผู้ให้บริการแต่ละแบรนด์ ดังนั้นอย่าลืมอ่านคู่มือการทำความสะอาดไส้กรอง หรือเปลี่ยนไส้กรองตามระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถสอบถามกับทางผู้ให้บริการ ทั้งนี้ก็เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องผลิตออกซิเจนให้ใช้ได้นาน ไม่เกิดปัญหาจุกจิก และสามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

  4. ส่วนแนวทางการดูแลอื่นๆ ก็คือไม่วางเครื่องผลิตออกซิเจนไว้ใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ เพราะอาจทำให้ตัวเครื่องอุณหภูมิสูงเกินไปจนเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ไม่ใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนในบริเวณที่มีมลพิษหรือฝุ่นควันเยอะ ควรวางเครื่องผลิตออกซิเจนให้ห่างจากกำแพงประมาณ 1 ฟุต เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก และวางห่างจากแหล่งที่มีความเสี่ยงเกิดประกายไฟเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้รุกรามไปยังตัวเครื่องทำให้เกิดความเสียหาย และที่สำคัญต้องหมั่นรักษาความสะอาดภายในบ้านหรือบริเวณที่ใช้งานตัวเครื่องด้วย

 

เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนเครื่องผลิตออกซิเจน

เครื่องผลิตออกซิเจนแต่ละรุ่นมีอายุการใช้งานแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มักระบุอายุการใช้งานหนึ่งหมื่นชั่วโมง สองหมื่นชั่วโมง หรือสามหมื่นชั่วโมง ซึ่งเป็นอายุการใช้งานของกระบอกสารผลิตสารออกซิเจน (Molecular Sieve) ซึ่งกระบอกสารผลิตสารออกซิเจนโดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานเริ่มต้นอยู่ที่หนึ่งหมื่นชั่วโมง

แต่หลายคนอาจสงสัยว่าหากครบหนึ่งหมื่นชั่วโมงแล้วต้องเปลี่ยนเครื่องผลิตออกซิเจนเครื่องใหม่เลยหรือไม่ จริง ๆ แล้วเมื่ออายุการใช้งานครบตัวเครื่องจะไม่เสียและยังคงใช้งานได้ตามปกติ แต่ระดับการผลิตออกซิเจนและความเข้มข้นของออกซิเจนจะเริ่มลดลงจนอาจต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เครื่องระบุเอาไว้ ซึ่งตัวเครื่องจะมีการส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ ได้แก่ การส่งเสียงแจ้งเตือนและสัญญาณไฟแจ้งเตือน หรือสามารถสังเกตจากชั่วโมงผลรวมการใช้งานเครื่อง เป็นต้น

เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณเตือนจากเครื่องผลิตออกซิเจนเมื่อไหร่ หรือชั่วโมงการใช้งานเครื่องจะครบกำหนด ก็อาจหมายความว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนกระบอกสารผลิตออกซิเจนกระบอกใหม่แล้ว เมื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ส่วนดังกล่าวใหม่ เครื่องก็จะสามารถใช้งานได้ตามปกติ สัญญาณเตือนต่าง ๆ ก็จะดับลงและใช้งานได้ต่อไปโดยไม่มีการแจ้งเตือนระดับออกซิเจนอีก

อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมเปิดใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพื่อกระตุ้นให้เครื่องได้ใช้งาน ช่วยรักษาสภาพเครื่องไม่ให้เสื่อมเร็ว นอกจากนี้ต้องไม่ลืมปฏิบัติตามวิธีการดูแลรักษาเครื่องผลิตออกซิเจนตามที่เราได้แนะนำไป เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพและใช้ได้นานที่สุดด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนเพื่อใช้งานในครัวเรือน สถานพักฟื้น หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ นั้นมีไว้เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งการซื้อใช้งานต้องได้รับการอนุญาตและคำแนะนำจากแพทย์โดยเฉพาะ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนจากผู้ให้บริการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ชนิดนี้โดยเฉพาะ รวมถึงใช้งานตามคู่มือที่แนะนำ หมั่นดูแลรักษา เปลี่ยนไส้กรอง และเปลี่ยนกระบอกสารสร้างออกซิเจนเมื่อถึงเวลา เท่านี้ก็ช่วยให้สามารถใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจนได้ยาวนาน ลดการเกิดปัญหาจุกจิก และช่วยให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย

 

มองหาเครื่องผลิตออกซิเจน ต้องแอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย

แอ็ดเลอร์ เมดิคอล ซัพพลาย คือผู้จัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการแพทย์แบบครบวงจร มีประสบการณ์ในธุรกิจยาวนานกว่า 15 ปี เรานำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูงทั้งจากยุโรปและเอเชีย พร้อมการรับประกันและบริการหลังการขายเพื่อลูกค้าทุกกลุ่ม

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
Customer services : 096-924-6604
Facebook : @AdlerMedicalSupply
Line@ : https://page.line.me/adlermed
Website : https://www.adlerthailand.com

29 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 600 ครั้ง

Engine by shopup.com