shopup.com

ดูบทความข้อแนะนำก่อนซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาใช้ที่บ้าน

ข้อแนะนำก่อนซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาใช้ที่บ้าน



 

 

ข้อแนะนำก่อนซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาใช้ที่บ้าน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป โดยค่าความดันที่อยู่ในเกณฑ์
ความดันโลหิตสูง ต้องมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140-159 (ตัวบน) หรือ 90-99 ตัวล่าง

ซึ่งความดันโลหิตนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เครื่องวัดความดันโลหิต จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ

เพื่อตรวจวัดความดันของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติจะได้รักษาอย่างทันท่วงที

 

 

หน่วยวัดความดันโลหิต

หน่วยวัดความดันโลหิต ค่าความดันโลหิต เราวัดเป็นหน่วยมิลลิเมตรปรอท และจะบอกค่าเป็น  2 ตัวเลขเสมอ ตัวเลขสูงกว่าหรือบางทีเรียกว่าความดันตัวบน (systolic pressure) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว และตัวเลขที่ต่ำกว่าหรือบางทีเรียกว่าความดันตัวล่าง (diastolic pressure) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

 

 

ค่าความดันปกติ 

1.ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่โดยทั่วไป ถือว่าค่าความดันตัวบนไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท

2.ความดันโลหิตที่ “อยู่ในเกณฑ์ปกติ” คือ ต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 130-139/85-89 มม.ปรอท และจะเรียกได้ว่ามีความดันโลหิตสูงเมื่อความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท

 

 

การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับใช้ที่บ้าน
1. ควรเลือกใช้ เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล เพราะสะดวกและใช้งานง่าย
2. สายรัดแขนสามารถใส่ได้ง่าย การเลือกเครื่องวัดความดันที่มีสายรัดแขน ซึ่งสวมใส่ได้ด้วยตนเอง
นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากทำให้ผู้วัดความดันสามารถทราบค่าความดันโลหิตของตนเองได้
3. มีความแม่นยำสูงความแม่นยำสูงจะทำให้การวินิจฉัยโรคของแพทย์เป็นไปอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยให้การรักษาโรคสะดวกและง่ายดายกว่าเดิม
4. เลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เช่น CE (European Conformity:CE) หรือเครื่องหมาย UL (Underwriters’ Laboratories :UL) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องมือนั้นได้รับการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภายุโรป    หรือตรวจสอบได้จากเครื่องหมาย มอก.มาตรฐานประเทศไทย เป็นต้น

 

 

คำแนะนำในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต

ไม่ควรวัดความดันทันทีหลังอาหารมื้อหลัก ควรห่างอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่หรือเครื่องก่อนทำการวัด ไม่ควรวัดขณะที่ร่างกายเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เครียด ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ให้วัดในท่านั่ง วางแขน และข้อศอกบนโต๊ะ จัดระดับให้ผ้าพันต้นแขน

 

สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ทั้งหมด เป็นของ Adler Medical Supply และผู้เขียน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ครั้งแรกใน www.adlerthailand.com  1 กรกฎาคม 2563

Copyright (c) 2018 Text and Pictures. Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited. First published in www.adlerthailand.com 1 July 2020

 

Adler Medical Supply ผู้นำด้านเครื่องผลิตออกซิเจน อันดับ1

บริการให้คำปรึกษาพร้อมแนะนำวิธีการใช้งาน 24 ชม.
โทร. 096-924-6604 Line : @adlermed

 

สินค้าขายดี คุณภาพสูง ราคามิตรภาพ จาก AdlerDrive

เครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตร รุ่น 7F-8w | เครื่องผลิตออกซิเจน 8 ลิตร รุ่น Jay8 | เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร รุ่น Jay5
เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร yuwell รุ่น 8f 5aw | เครื่องผลิตออกซิเจนพกพา igo2 | เครื่องผลิตออกซิเจนพกพา รุ่น Jay1
เครื่องผลิตออกซิเจน แรงดันสูง Devilbiss รุ่น 1025ks | เครื่องผลิตออกซิเจน แรงดันสูง รุ่น Jay10 20psi | เครื่องผลิตออกซิเจน 3 ลิตร Yuwell รุ่น 8f 3aw
เครื่องผลิตออกซิเจน 10 ลิตร รุ่น Jay10 | เครื่องผลิตออกซิเจน 10 ลิตร Yuwell รุ่น 8f 10aw | เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร ราคาถูก รุ่น Jay5
เครื่องออกซิเจน ช่วยหายใจ Sefam | เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาดเล็ก igo2 | เครื่องออกซิเจน 3 ลิตร Yuwell รุ่น 8f 3aw
เครื่องผลิตอ๊อกซิเจน 3 ลิตร Yuwell รุ่น 8f 3aw | เครื่องทำออกซิเจน 5 ลิตร รุ่น Jay5 | เครื่องให้ออกซิเจน 3 ลิตร Yuwell รุ่น 8f 3aw
เครื่องผลิตออกซิเจน ราคาถูก 3 ลิตร Yuwell รุ่น 8f 3aw | เครื่องผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ 5 ลิตร รุ่น Jay5

เตียงผู้ป่วยเตียงคนไข้เตียงผู้สูงอายุเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าเตียงโรงพยาบาลoxygen concentratorเครื่องผลิตออกซิเจน เสียงเงียบ

06 พฤษภาคม 2565

ผู้ชม 26567 ครั้ง

Engine by shopup.com