shopup.com

ดูบทความต้องพ่นยา คุณหมอบอกให้ใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8 - 10 ลิตร/นาที จริงหรือ?

ต้องพ่นยา คุณหมอบอกให้ใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8 - 10 ลิตร/นาที จริงหรือ?

 

ต้องพ่นยา คุณหมอบอกให้ใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8 - 10 ลิตร/นาที จริงหรือ?

 

               หลายๆท่านคงมีข้อสงสัย ว่าการพ่นยาเองที่บ้านจำเป็นต้องเสียเงินซื้อเครื่องที่มีสเปคสูงๆราคาแพงหรือไม่ คุณหมอแจ้งว่าต้องพ่นยาจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน 8-10 ลิตร ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคุณหมอแนะนำผิดแต่อย่างใด หากการพ่นยานั้นเป็นการใช้ระบบท่อออกซิเจนที่ติดตามผนังภายในโรงพยาบาล

                ซึ่งระบบ (pipeline) ที่ใช้งานภายในโรงพยาบาลนั้น จะแตกต่างจากเครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้งานภายในบ้าน ( แต่จุดประสงค์การใช้งานนั้นเหมือนกัน )
วันนี้ผมจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน พ่นยา ด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบของเครื่อง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

 

เครื่องผลิตออกซิเจนที่นำมาใช้พ่นยาด้วย จำเป็นมั้ยที่ต้องใช้ เครื่องที่จ่ายออกซิเจน 8 - 10 ลิตร ?

การให้ออกซิเจนนั้น จะเป็นคนละส่วนกับการพ่นยาอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นเครื่องผลิตออกซิเจนทั่วไป

แรงดันลมทีออกมา ต่อให้เป็น 10 ลิตรก็ไม่สามารถพ่นยาได้ เนื่องจากแรงดันไม่เพียงพอที่จะทำให้ตัวยาแตกออกมาเป็นฝอยละอองได้

 

แล้วทำไมที่โรงพยาบาลถึงใช้ออกซิเจนพ่นยาได้หละ ?
เหตุผลที่โรงพยาบาลพ่นยาด้วยออกซิเจนได้ เพราะระบบท่อจ่ายออกซิเจนของโรงพยาบาลเป็นแบบแรงดันสูง (pipeline) ซึ่งสามารถใช้ในการพ่นยาได้

แต่ปัจจุบันเครื่องผลิตออกซิเจนบางรุ่นที่ใส่ฟังก์ชันเสริมขึ้นมา เรียกว่าฟังก์ชันพ่นยา (Nebulizer Outlet)
ซึ่งหลักการทำงานของฟังก์ชันนี้จะมีแรงดันลมที่สูง วัดค่าออกซิเจนได้เพียง 21% กล่าวคือไม่ได้ผ่านการกรองด้วยไส้กรองออกซิเจนที่ผลิตได้ 93 +/- 3% นั่นเอง


เราสามารถพ่นยาที่บ้านด้วยตนเองแบบไหนได้บ้าง ?

ทางเลือกในการพ่นยา ไม่ได้จำเป็นต้องยึดติดว่าต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนอย่างเดียว ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้หลากหลายวิธี 

 

1.พ่นยาด้วยเครื่องพ่นยา ( air pump ) เครื่องประเภทนี้จะปล่อยแรงดันอากาศ 21% หรืออากาศที่เราหายใจปกติ โดยมีการกรองอากาศผ่าน Filter ให้สะอาด และประกอบเข้ากับหน้ากากในการทำให้ตัวยาแตกเป็นฝอยละออง และสูดดมผ่าน Face Mask หรือ Mouth Piece

2.การพ่นยาด้วยฟังก์ชันพ่นยาของเครื่องผลิตออกซิเจน ซึ่งวิธีนี้ก็จะเป็นระบบ air pump เหมือนเครื่องพ่นยาเช่นกัน เครื่องผลิตออกซิเจน บางรุ่น จะติดระบบพ่นยาพ่วงเข้ามาด้วย เพราะผู้ป่วยที่มีปัญหาเกียวกับโรคทางเดินหายที่ต้องให้ออกซิเจน ส่วนใหญ่จำเป็นต้องพ่นยาประกอบการบำบัดรักษาด้วยออกซิเจน
3.การพ่นยาด้วยออกซิเจนแรงดันสูง (oxygen flowmeter ) การพ่นยาด้วยวิธีนี้จะใช้ ถังออกซิเจน ในการพ่นยา หรือใช้เครื่องผลิตออกซิเจน ที่มีแรงดันสูง 20 psi ในการพ่นยา ซึ่งจะเหมาะใช้ในผู้ป่วยที่อาการหอบเหนื่อยรุนแรง หรือร่างกายขาดออกซิเจนรุนแรง ต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา

จากการทดสอบด้วยการพ่นยาด้วยระบบต่างๆ

1.ระบบแรกที่ทดลองคือระบบที่ลูกค้าตั้งข้อสงสัยกันว่า การพ่นยาต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน 8-10
โดยเราได้ทดสอบนำเครื่อง 8 ลิตรปรับตราการไหลสูงสุด และต่อชุดพ่นยา สรุปได้ว่าแรงดันไม่เพียงพอในการใช้งาน

2.ระบบที่ 2 ใช้การพ่นยาด้วยเครื่องพ่นยาโดยเฉพาะซึ่งมีแรงดันลมสูง พบว่าสามารถทำให้ตัวยาละเหยออกมาเป็นละอองได้ดี และบางรุ่นสามารถปรับ ความแรงได้ เช่น เครื่องพ่นยาพกพา

3.ระบที่ 3 พ่นยาด้วยฟังก์ชันพ่นยาด้วยเครื่องผลิตออกซิเจน พบว่าทำงานได้ดีไม่แพ้กับการพ่นยาด้วยเครื่องโดยตรง แต่จะมีเพียงเครื่องผลิตออกซิเจนบางรุ่นเท่านั้นที่สามารถปรับแรงลมในส่วนของพ่นยาได้ (ส่วนใหญ่แล้วแรงลมระดับเดียว)

4.การพ่นยาด้วยออกซิเจนแรงดันสูง จากเครื่องผลิตออกซิเจนที่มีแรงดันถึง 20 psi และถังออกซิเจนที่มีแรงดันสูง โดยการเปิดพ่นยาที่ 8-10 ลิตร/นาที

การพ่นยาที่ใช้ออกซิเจน ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ป่วย ที่หอบเหนื่อยขั้นรุ่นแรง หรือขาดออกซิเจนขั้นรุ่นแรง กล่าวคือต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา

ข้อสรุป

การที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการบำบัดรักษา และต้องพ่นยาด้วย การพิจารณาที่จะซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนสักเครื่อง ไม่จำเป็นต้องโฟกัสในส่วนของการพ่นยาเป็นหลัก ให้เลือกเครื่องที่เหมาะต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพที่ดี

 

ส่วนในเรื่องของการพ่นยานั้น ถ้ารุ่นที่ท่านเลือกมีฟังก์ชันพ่นยาเสริมมาด้วยก็ถือเป็นเรื่องดี

แต่หากไม่มีมาด้วย ก็ไม่ต้องเป็นกังวลใจ เพราะเครื่องพ่นยาทั่วไปก็มีจำหน่ายในราคาที่ไม่ได้สูงมากนัก ( 1500 - 3000 ) และอาจจะมีประสิทธิภาพในการพ่นได้ดีกว่า ฟังก์ชันพ่นยาบนเครื่องผลิตออกซิเจนด้วยซ้ำ

 


 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ทั้งหมด เป็นของ Adler Medical Supply และผู้เขียน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ครั้งแรกใน www.adlerthailand.com  1 กรกฎาคม 2563

Copyright (c) 2018 Text and Pictures. Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited. First published in www.adlerthailand.com 1 July 2020

 

 

??????????????????????????? ???.0969246604??????????????????????????? Line @adlermed??????????????????????????? Inbox facebook


?????? Adler Medical Supply

 

01 กรกฎาคม 2563

ผู้ชม 3273 ครั้ง

Engine by shopup.com